วันพุธที่ 3 ธันวาคม 2551อาจารย์ได้สอนการนำเข้าสู่บทเรียนของการสอนนั้นมีหลายวิธีเช่นเกม(ปริศนาคำทาย) เพลงต่างๆ นิทาน คำคล้องจอง
กระบวนการ
บรรยากาศการเรียน มีลักษณะของความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆตั้งแต่การวางแผนคิดด้วยกันจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป้นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในส่วนใด การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว(long range plans)เพื่อวางกรอบคิดกว้างๆ
แผนระยะสั้น(short range plans)โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
การฟังและการพูดของเด็ก
เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้นและเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น
เด็กวัย 2-3ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูก มีพัฒนาการภาษาที่ดีการสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปถึงเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิดรวมไปจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้อย่างดี
การอ่านและการเขียน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ทุกขั้นตอนที่สำคัญคือการให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นทั้งหมดคือองค์รวมที่เป็นเนื้อหาที่เป็นระบบการคิดไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทงภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวและพยายามเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลา เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกื่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การอ่านหมายถึงการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างมีความหมาย
การเขียนและการอ่านจะดำเนินไปพร้อมกันเนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการที่แตกฉานในเรื่องนั้น ๆส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้นๆ ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเรียนแบบโดยเด็กไม่ต้องใช้ความคิดแต่เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือหรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการเขียนที่มาจากความคิด
วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น