ภาพงานศิลปะ

ภาพกิจกรรมเชิดหุ่น

เพลงระบำชาวเกาะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

การจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียน

การจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียน
วันพุธ ที่7 มกราคม 2552 วันนี้อาจารย์ไม่อยู่แต่ให้พวกเราเรียนจากpower point ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วกันค่ะการจัดสภาพแวดล้อมควรจัดห้องเรียนให้สอดล้องกับเนื้อหาที่เราจะสอน และในการจัดห้องเรียนครจะมีการส่งเสริมภาษาให้กับเด็กโดยมีการจัดมุมต่างๆเช่น1.มุมบ้าน มุมนี้เด็กก็จะเข้ามาเล่นใบมุมนี้เเล้วมีการพูดคุยกันเหมือนการอยู่บ้าน ทำให้เด็กได้มีโอกาสในการพัฒนาภาษาของเด็กได้2.มุมหมอ มุมนี้ก็จะได้มีการเล่นบทบาทสมมติเป็นคนไข้ กับคุณหมอ ก็จะเป็นการฝึกภาษาพูดและภาษาเขียนไปในตัวเพราะการเล่นบทบาทเป็นหมอหรรือพยาบาลก็จะมีการสอบถามผูป่วย มีการนัดหมายผู้ป่วย เป็นต้น3.มุมตลาด เด็กจะได้ฝึกการสนทนาสือสารดต้อตอบระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย4.มุมจราจร เด็กจะได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจรกระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็กครูจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำทำงานได้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเองซึ่งครูจะต้องสังเกตุ และครูจต้องระลึกว่าธรรมชาติขิงเด็กจะเกิดขึ้นพร้อมกับความสารถในการเรียนรู้มีสมองไว้คิด และมีประสาทสัมผัทั้ง 5 เพื่อการรับรู้ ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้เเละซึมซับสิ่งต่างๆได้เองตามธรรมชาติบทบาทของครู ครูควรมีวิธีการในการเชื่อมโยงประสบการณืที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น การเล่าเรื่อง การเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย และครูควรหาหนังสือมาจัดไว้ที่ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้หยิบอ่านได้ตามความสะดวกบรรยากาศในการสอนเเนวใหม่เด็กจะเเสดงให้ครูเห็นว่า เขาต้องการเขียนสอ่งที่มีความหมาย สิ่งที่เขาอยากให้ผู้อื่นเข้าใจการเรียน ระยะเเรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด ซึ่งเกิดจากประสบการณ์เดิมเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือ แต่ยังไม่ถูกตต้อง ครูครวส่งเสริมไม่ควรตำหนิเด็ก และให้เเก้ไขทันทีควรให้เด็กได้ฝึกสังเกตุสิ่งที่เด็กพบเห็นบ่อยๆ การสังเกตุจะช่วยให้เด็กเกิกการพัฒนาและปรับปรุงให้ถูกต้องดดยไม่เกิดความรู้สึกผิดการประเมินผลครูพิจารณาจากการสังเกตุ การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็ก ขณะทำกิจกรรมต่างๆ และสะสมชิ้นงานเป็นการประเมินการเรียนรู้จากสภาพจริง และจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากว่าการใช้เเบบทดสอบทางภาษา

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

วันที่ 7 มกราคม 2552

การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน
ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มตามความสนใจ
การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ
สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ
โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิ่มเอิบไปด้วยภาษาไตลอดเวลา
การจัดสภาพแวดล้อมในมุมของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก
มุมบ้าน
เด็กจะเข้ามาในบ้านพูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันทำกิจกรรมต่างๆ
เช่น ล้างชามในครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษดินสอ
มุมหมอ
เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมุตรเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในการอธิบาย
อาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ
โดยการจดการนัดหมายไว้ในสมุดคนไข้
มุมจราจร
เด็กด้เรียนรู้กฎจราจร การปฎิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ
รู้จักทิศทาง ซ้าย-ขวา การแสดงบทบาทต่างๆ
มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษดินสอ สื่อ อุปกรณ์
หนังสือ ขั้นตอนการแนะนำให้ชัดเจน เด็กจะเข้าไปเรียนรู้
โดยที่เด็กต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู
เด็กสนทนาหรือหัดเขียน ในสิ่งที่ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ
บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น
ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น
การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิด
หรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือก
และจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน
เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอ
เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ
บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียน
สิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ
การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด
ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการ
สื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิก
คล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

วันที่ 19 ธันวาคม 2551

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม"อ่าน-เขียน"
- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด- มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดการอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักการใช้หนังสือ การเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนได้พร้อมกัน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ
ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียนภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
โดยความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น เมื่อเราพูดเล่า สนทนาโต้ตอบกัน
ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู
ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออก
โดยการพูดเด็กจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสารหรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายของการเขียน
ขั้นของพัฒนาการทางการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน
เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”
ขั้นที่สอง จะผูกพันกับตัวอักษรขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร
ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก
ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษร

วันพุธที่ 3 ธันวาคม

กระบวนการ-การสร้างบรรยายกาศการเรียน มีลักษณะความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ
ตั้งแต่การวางแผน คือ คิด ด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร
จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยกันทำหน้าที่ในส่วนใด
-การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว(Long-range plans) เพื่อเป็นการวางกรอบความคิดกว้างๆ
-การวางแผนระยะสั้น(Shorth-range plans) โดยเด็กๆ
และครูจะสามารถใช้ความคิด พูดคุยกันได้
-การฟังและการพูดของเด็กเด็กมีโอกาศได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่าเด็กยังไม่สามารถพูดได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดจากแม่ได้ เพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินเสียง
ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะทำให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากเสียงที่ได้ยินเด็กวัย2-3 ขวบ
การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการภาษาที่ดี การสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างในการส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีมากยิ่งขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิด รวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
-การอ่านและการเขียนการอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้โอกาศเด็กเรียนรู้
เพื่อพัฒนาภาษาเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตาม ตัวหนังสือประกอบไปด้วย
ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจ
ในประเด็นในเรื่องที่อ่าน ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง(องค์รวม)
ครูควรสนทนากับเด็กด้วยภาอย่างง่ายๆด้วยเนื้อหา ที่มีความสัมพันธืกับสิ่งรอบๆตัวเด็ก
และครูควรพยายามเชื่อมโยง กับประสบการณ์ของเด็กตลอดเวลา
เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษากับชีวิตจริง-จึงกล่าวไว้ว่า
การเขียนหมายถึง การสื่อสารเมื่อแสดงความคิด ความรู้สึก ออกมาอย่างมีความหมาย
-ครูจะต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบ โดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิด
แต่เป็นการ ฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือความสวยงามเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการเขียนที่ออกมาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากการฝึกคิด และถ่ายทอดความคิดออกมาเป็น ภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติ
จากการฟังมาก ได้อ่านมาก และสามารถถ่ายทอดได้เอง และค่อยมาคำนึงถึง
ความสวยงาม และความถูกต้องสวยงาม.