ภาพงานศิลปะ

ภาพกิจกรรมเชิดหุ่น

เพลงระบำชาวเกาะ

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ความสำคัญของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจอยากรู้ อยากเห็น เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การที่เด็กได้รู้จักสิ่งต่าง ๆ ทำให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เด็กสงสัย เข้าใจโลกที่อยู่ ซึ่งส่งผลให้สามารถพัฒนาการคิด รู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ เด็กมีประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาเด็กในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง
2.ได้ประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับชีวิต
3. มีทักษะในด้านการสังเกต
4 รู้จักวิธีการแก้ปัญหาโดยมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือ
5. มีความรู้พื้นฐานจากการได้สืบค้น
6. มีการพัฒนาด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5
ความหมายของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างจาก ความหมายของวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งเน้นที่กระบวนการและผลผลิตวิทยาศาสตร์ แต่เด็กปฐมวัยแตกต่างจากวัยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ ดังนั้นจึงเป็นการกระทำโดยอาศัยพื้นฐาน เบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริงต่าง ๆ รอบตัวเอง การให้เด็กได้มีส่วนในการทำกิจกรรมจะช่วยพัฒนาทักษะในการคิดอย่างมีระบบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับต่อไป กิจกรรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับกระบวนการและผลผลิต เพราะว่าเมื่อครูเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูต้องเฝ้าสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก (กระบวนการ) เมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูก็ต้องดูผลงานของเด็ก (ผลผลิต) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาจากคำว่าทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะ หมายถึง ความชำนาญ ความคล่องแคล่ว และความแม่นยำ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้หาความรู้ และหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นระบบมีเหตุผล
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความชำนาญ ความคล่องแคล่ว ความแม่นยำ ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสวงหาความรู้ หรือหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยในขณะที่มีการค้นคว้าหาความรู้ ตามขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้ทำการศึกษาค้นคว้าต้องมีการปฏิบัติและฝึกฝนทางความคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
พอสรุปได้ว่า ทักษะที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการวัดและทักษะการเปรียบเทียบ
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการลงความเห็น
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติและเวลา
สิ่งสำคัญของการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้
ทักษะการสังเกต การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไปการสังเกตโดยใช้ตา ในการสังเกตโดยใชสายตานั้น หากเด็กได้รับการชี้แนะให้รู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่าง ๆ สังเกตความเหมือน ความแตกต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภทก็จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยขั้นแรกให้ดูสิ่งที่เด็กพบ เห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ขณะที่พาเด็กไปเดินเล่นในบริเวณโรงเรียน ครูเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้เด็กดู (ไม่ควรเด็ดใบไม้จากต้น ถ้าเด็กอยากเด็ด ให้บอกเด็กว่า “เก็บ จากพื้นดีกวา ดอกไม้ใบไม้ที่อยู่กับต้นช่วยให้ต้นไม้ดูสวยงามและเจริญเติบโต ถ้าเราเด็ด ออกมาดูอีกเดี๋ยวเดียวก็จะเหี่ยว”) ให้เด็กสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ เด็กจะเห็นว่า ใบไม้ ส่วนใหญ่มีสีเขียว แต่บางใบก็มีสีแตกต่างไป ส่วนรูปร่างลักษณะก็มีทั้งคล้ายกันและต่าง กัน เช่น ใบมะนาวไม่มีแฉก ใบตำลึงมีแฉก เป็นต้น นอกจากใบไม้แล้ว ควรให้เด็กสังเกตุ รูปทรงต่าง ๆ ของพืช เช่น เป็นลำต้นตรงสูงขึ้นไป เป็นเถาเลื้อยเกาะกับต้นอื่น ให้สังเกต ความแตกต่างของดอกไม้ และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกอัญชันมีสีม่วงเข้ม ส่วนดอกมะลิมีสี ขาว แล้วให้เด็กนำไปใช้ประโยชน่อะไรได้ เช่น เอาดอกอัญชันไปใช้ย้อมผ้าได้ ใบเตยนำไปใช้ในการทำขนม ทำให้มีสีสวยและกลิ่มหอม เป็นต้นนอกจากสังเกตใบไม้แล้ว ครูควรจัดหาเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กเล่นเพื่อ สังเกตลักษณะรูปร่างขนาด สี และหัดแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ โดยนำเมล็ดที่มีลักษณะคล้ายกันไว้ด้วยกัน รวมทั้งให้คิดว่าเป็นเมล็ดของพืชชนิดใดด้วยอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ก้อนหิน เม็ดทราย เป็นต้น
การสังเกตโดยใช้หู นอกจากความสามารถในการจำแนกเสียงจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อม ทางภาษาแล้วยังมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กอีกด้วย เสียงที่เด็กคุ้นหูคือ เสียงสัตว์ต่าง ๆ ครูอาจใช้วิธีอัดเสียงนกในท้องถิ่น เสียงกบร้อง เสียง จักจั่น ฯลฯ แล้วเปิดเทปให้เด็กทายว่าเป็นเสียงสัตว์อะไรที่เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่าง ของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเกี่ยวกับลักษณะและความเป็น อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ ได้ และช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะสังเกตและศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมมากขึ้นสำหรับการฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว อาจใช้วิธีให้เด็กปิดตา แล้วเดาว่าเสียงที่ ครูทำนั้นเป็นเสียงอะไร เช่น เสียงเคาะไม้ เสียงช้อนคนแก้วน้ำ เสียงฉิ่ง เป็นต้น จากการ ฟังเสียงที่แตกต่างกันของวัตถุเหล่านี้ เด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัตถุซึ่งมีผลทำให้ เกิดเสียงที่ต่างกันไป นอกจากนี้ อาจนำเครื่องดนตรี หรือเครื่องให้จังหวะที่ทำด้วยวัสดุ ต่าง ๆ มาแสดงให้เด็กเห็นว่ามีเสียงต่างกัน เช่น ลูกซัดที่ใส่ถั่วเขียวไว้ข้างใน ลูกซัดหวาย ร้อนด้วยฝาน้ำอัดลม กรับไม้ไผ่ ฯลฯ
การสังเกตโดยใช้จมูก กิจกรรมที่ใช้การดมกลิ่น ควรประกอบด้วยการให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นต่าง ๆ กัน รวม ทั้งให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นคล้าย ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพื่อให้รู้จักจำแนกได้ ละเอียดขึ้น ในขั้นแรกให้นำของต่าง ๆ ที่จะให้เด็กดมใส่ขวดเอากระดาษปิดขวดรอบนอก เพื่อไม่ให้เห็นสิ่งของ ให้เด็กดมแล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร ตัวอย่างสิ่งที่อาจให้ดม ได้แก่ หัวหอม กระเทียม สบู่ กาแฟ ใบสะระแหน่ เปลือกส้ม ยาดม ฯลฯ ต่อมาหลังจากที่เด็ก สามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น สบู่ต่างชนิดกัน ดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้ต่าง ๆ ผลไม้ เช่น ส้ม กับมะนาว แล้วให้เด็กพูดบรรยายความรู้สึก เช่น ดอกไม้ดอกนี้หอมชื่นใจ ดอกนี้หอมแรงไป หน่อย ใบไม้นี้มีกลิ่นหอม ใบนี้กลิ่นคล้ายของเปรี้ยว เป็นต้น
การสังเกตโดยใช้ลิ้น การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับ ธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดเอาเข้าปากได้ และสิ่งใดไม่ควรแตะต้องเพราะมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเด็กไปพบเห็นสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะได้ไม่เอาเข้าปาก การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จัก ความแตกต่างของรส และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น ให้เอาอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายอย่างใส่ถาดให้เด็กปิดตาแล้วครูส่งให้ชิม ให้เด็ก ตอบว่า กำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล เกลือ วุ้น มะยม มะนาว ฯลฯ หลังจาก นั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสหล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น มะยมกับ มะนาวแตกต่างกันอย่างไร
การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสโดยใช้มือแตะหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป กิจกรรมอาจเริ่มโดยเอาวัตถุหลายอย่างใส่ถุง ให้เด็กปิดตาเอมมือหยิบสิ่งของขึ้นมา แล้ว ให้บอกว่าสิ่งที่คลำมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ ของที่นำมาใส่ในถุงควรเป็นสิ่งที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ำ ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ เหล่านี้แล้วยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีกด้วยทักษะการจำแนกประเภท การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน นอกจากนี้ ประภาพรรณ สุวรรณสุข (2527:37) ได้ให้ความหมายของการจำแนกประเภทว่า หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งการจัดประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น แยกประเภทตามตัวอักษร ตามลักษณะ รูปร่าง แสง สี เสียง ขนาด ประโยชน์ในการใช้ เป็นต้นทักษะการวัด การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
ทักษะการสื่อความหมาย การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วยลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้ 1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้ 2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้ 3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว 4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น การที่จะฝึกเด็กให้มีทักษะในการสื่อความหมายที่ดีได้นั้น เด็กจะต้องรู้คำศัพท์ หรือความหมายของคำเป็นอย่างดี อีกทั้งจะต้องมีประสบการณ์ในการสื่อความหมายที่ถูกวิธีด้วย การพัฒนาทางด้านภาษา และความพร้อมในการอ่าน จะช่วยทำให้มีความสามารถในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการที่เราจะให้เด็กสามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ดี จึงควรที่จะจัดประสบการณ์ด้านนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่วัยปฐมวัย ซึ่งครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กเป็นผู้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้ค้นพบให้มากที่สุด ถ้ามีเด็กที่ไม่ชอบพูดครูอาจจะต้องใช้เทคนิคในการตั้งคำถาม และหากเด็กบรรยายสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง ครูควรแก้ไขทันทีทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลต่างกับการทำนายในแง่ที่ว่า การลงความเห็นจากข้อมูลไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต เป็นเพียงแต่อธิบายความหมายจากข้อมูล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย การลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการอธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย มีลักษณะดังนี้ 1. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่างการลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่างที่สังเกตได้โดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น เห็นสารสีขาวก็บอกว่าเป็นเกลือ โดยยังไม่ได้สังเกตคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ของสิ่งนั้นให้เพียงพอ เช่น ยังไม่ได้สังเกตการละลาย รส เป็นต้น 2. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ อธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกต โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิม
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา สเปส หรือมิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็กปฐมวัยอาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้นทักษะการคำนวณ การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลองหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลอง ดังนั้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของตัวเลข จำนวนบวก จำนวนลบ เลขเต็มหน่วย เซตทางคณิตศาสตร์ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคำนวณ- ครูจัดหาวัตถุสิ่งของมาให้เด็กได้นับจำนวน เช่น มีก้อนหิน 10 ก้อน เป็นต้น- ครูให้เด็กศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยให้เด็กปลูกและดูแลต้นไม้เอง ตั้งแต่การเพาะเมล็ด และให้เด็กทำการวัดแต่ละสัปดาห์ต้นไม้สูงขึ้นเท่าไร แล้วบันทึกความสูงไว้เป็นจำนวนตัวเลข (ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรแน่ใจใจว่า เด็กมีความรู้พื้นฐานเรื่องการวัด)
บทสรุป จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ




















ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์(science) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนมีระเบียบแบบแผน ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่”

ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ จะมี 2 ส่วน
1. วิทยาศาสตร์หมายถึงความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
สิ่งต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรในอนาคต
มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อย่างไรการการพยายามหาคำตอบจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ นำไปสู่ข้อสรุปเป็นข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด ทฤษฎี หลักการ และกฎต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์
2. วิทยาศาสตร์หมายถึง กระบวนการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์
องค์ประกอบของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
1. กระบวนการ (process) หมายถึงการกระทำคนซึ่งอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การกำหนดปัญหา และการตรวจสอบสมมุติฐาน
2. ความรู้ (knowledge) ได้แก้ผลจากการกระทำของคน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล ข้อเท็จจริง ทฤษฎี และกฎ
ประเภทของวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้จากการค้นพบในธรรมชาติ ได้แก่ ข้อเท็จจริง หลักการ กฎ ทฤษฎี ได้แก่วิชาการต่างๆ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี ฯลฯ เราเรียกนักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่า นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้แก่ แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เป็นต้น
2วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เรียกนักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่านักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ประกอบด้วย วิศวกร แพทย์ เภสัชกร เกษตรกร เป็นต้น
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไร
ก็ได้มาจากกระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั่นล่ะจำได้ไหม เช่น การทดลองเรื่องไข้ เอ้ย..ไข่ลอย ไข่จม ก่อนที่นักเรียนจะสรุปหลักการของไข่จมไข่ลอยได้นั้น นักเรียนต้องอาศัยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
1. สังเกต (เช่น สังเกตว่าตอนแรกไข่จม พอใส่เกลือ..กลับลอยขึ้นมาได้ ไสยศาสตร์มีจริง เอ้ย..ไม่ใช่)
2. การตั้งปัญหา
3. (บางคนจะสงสัยว่าถ้าใส่เกลือไม่เท่ากัน ไข่จะลอยสูงต่างกันหรือไม่)
4. การตั้งสมมุติฐาน
5. (เป็นการคาดคะเนหาคำตอบหรือสิ่งที่เป็นไปได้ต่อไป เช่น หนูแจ๋วบอกว่าถ้าใส่เกลือต่างกันไข่จะลอยสูงขึ้นต่างกัน แต่หนูกะปอมบอกว่าใส่เกลือต่างกัน ไข่อาจจะลอยสูงเท่ากัน จะเห็นว่าสมมุติฐานยังไม่ใช่คำตอบที่ชัดเจน แต่จะนำไปสู่การทดลองต่อไปอีก
6. ออกแบบการทดลอง
การที่สองหนูจะตีกันตาย ต้องมีการออกแบบการทดลองสนับสนุนสมมุติฐาน เช่น กำหนดให้ใส่เกลือลงในน้ำที่มีปริมาตร150 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่ากัน โดยใส่เกลือเป็น 30 35 40 45 ช้อนเบอร์ 1 แล้วสังเกตความสูงของไข่ที่ลอยขึ้นทุกครั้ง
1. สรุปผลการทดลอง จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเกลือกับความสูงของไข่ที่ลอยขึ้นทำให้สรุปได้ว่า ถ้าความเข้มของเกลือมากขึ้น ไข่ไก่จะลอยสูงขึ้น(ใชโย..หนูแจ๋วตอบถูก)



ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง
1. ข้อเท็จจริง (Fact) คือสิ่งที่มนุษย์พบว่าเป็นความจริง(เล่นง่ายดีนะอาจารย์ ^_^…) แต่การบันทึกอาจคาดเคลื่อนได้
2. ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตหรือทดลอง แล้วนำข้อมูลเสนอข้อมูลก็มี 2 แบบคือ ข้อมูลเชิงปริมาณ(มักใช้กราฟหรือตารางข้อมูลบอก) และข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการบรรยายลักษณะและพฤติกรรมที่ปรากฏให้เราเห็นขณะทดลอง
3. กฎ (Law) หมายถึงสมมุติฐานที่ได้รับการยอมรับว่าถูกต้อง มักเน้นความสัมพันะระหว่างเหตุและผล
4. ทฤษฎี (Theory) หมายถึงสมมุติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆครั้ง จนเป็นที่ยอมรับกัน(อาจเปลี่ยนได้ถ้ามีข้อมูลที่ดีกว่าเก่ามาแก้)
มี



















การพัฒนาการ

สมองของลูกพัฒนาไปถึง 80% ของน้ำหนักสมองผู้ใหญ่ ในระยะเวลาช่วงต้นเพียง 3 ปีแรก”
ช่วง 0-3 ปีแรกของชีวิต สมองมีการพัฒนาสูงสุดวัยนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่ลูกมีกระบวนการเรียนรู้อย่างมากมายและรวดเร็วที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงอายุต่างๆ นักวิทยาศาสตร์ ได้ เรียกช่วงวัยนี้ว่า ช่วงโอกาสแห่งการเรียนรู้ (Window of Opportunity)ซึ่งเป็นช่วงประตูการเรียนรู้ในสมองเปิดกว้างเต็มที่และการเรียนรู้ของลูกน้อยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับ หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจและตอบสนองลูกได้อย่างถูกต้อง ก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด และหากทุ่มเทเพื่อพัฒนาการทางสมองทุกส่วนของลูกอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้ทักษะทุกด้านของสมองมีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ และนี่เองคือการเติบโตอย่างเต็มศักยภาพค่ะ
การเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ควรทำในช่วงวัยดังนี้
การพูดและการใช้คำศัพท์ (0-3 ขวบ) การพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม (0-18 เดือน) ความสามารถในการใช้ภาษา (0-10 ขวบ) การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาทักษะทางดนตรี (3-12 ขวบ)

แนวทางในการเลือกของเล่นโดยแบ่งตามวัย ดังนี้
แรกเกิด-1 ขวบเด็กแรกเกิดจะสามารถตอบสนองต่อการสัมผัสต่างๆ ได้ ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้การสัมผัส มีพัฒนาการดีขึ้น ของเล่นของเด็กวัยนี้จึงควรเป็นของเล่นรูปทรงต่างๆ ที่ไม่ซับซ้อน เป็นรูปสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง หรือทรงกลม มีสีสดใส ซึ่งพื้นผิว อาจจะหยาบหรือละเอียดแตกต่างกันไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ประสาทสัมผัส และหากมีเสียงก็ไม่ควรจะดังเกินไป เช่น ของเล่นเขย่ามือ หรือหนังสือภาพที่มีความทนทาน ตุ๊กตานุ่มที่สามารถเข้าปากกัดได้ เป็นต้นข้อควรระวัง สำหรับของเล่นให้เด็กวัยนี้คือ ของเล่นทุกชิ้นต้องมีขนาดใหญ่เกินกว่าเด็กจะกลืนกินได้ ต้องไม่มีความแหลมคม ไม่สามารถแตกแยกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือแตก หักยาก มีน้ำหนักเบา และต้องเคลือบด้วยสีปลอดสารพิษ
เด็กวัยนี้จะไม่สนใจการเล่นมากนัก แต่กำลังพัฒนาประสาทสัมผัส การแขวนของเล่นแกว่งไกวมีเสียงกรุ๋งกริ๋งจะช่วยให้เด็กได้กรอกสายตา ฝึกการมองเห็น และการฟังได้สังเกตการเคลื่อนไหว เมื่อเด็กสามารถบังคับใช้กล้ามเนื้อแขนขา มือได้ เด็กจะชอบคว้าจับ และสนใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และสนใจค้นหาสิ่งของที่ปิดซ่อน ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้มือ และเข่าคลานค้นหาสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง นอกจากนี้เด็กจะชอบฟังเสียงคำ และจังหวะ การร้องบทกลอนง่ายๆ ล้อเลียนเด็ก พร้อมกับการแสดงสีหน้าท่าทางจะทำให้เด็กสนุก และรู้จักการเลียนเสียง วัย 1-2 ขวบเด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เอง แม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เป็นการเรียนรู้เรื่องระยะทาง และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆ ของเล่นควรเป็นประเภทลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อกันเป็นขบวน หรือกล่องกระดาษมีเชือกร้อยต่อกัน เด็กจะสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่ได้พบเห็น ชอบปีนป่ายขึ้นบันได มุดโต๊ะ ผู้ใหญ่ต้องเอาใจใส่เรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้เด็กจะชอบเล่นน้ำ เล่นทราย เป็นการพัฒนาความรู้สึกการสัมผัส และฝึกการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ แขน ควรหาของเล่นอ่อนนุ่มหรือทำด้วยพลาสติกที่ปลอดภัย ให้เด็กได้ถือจับหรือโยนเล่นจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อเล็กได้ดีข้อควรระวัง สำหรับของเล่นให้เด็กวัยนี้ คือ หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีขนาดเล็ก ของเล่นแหลมคม และมีน้ำหนักเกินอาจเกิดอุบัติเหตุได้จากการขว้างปา ขนาดของรูหรือช่องต่างๆ ในของเล่นควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่านิ้วมือทุกนิ้ว เพื่อป้องกันการติดค้าง และขัดกันจนเกิดอุบัติเหตุ
วัย 2-4 ขวบเด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง จะเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นออกแรงมากๆ ทั้งวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย ม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรง และเคลื่อนไหวกระฉับกระเฉงขึ้น สำหรับกล้ามเนื้อเล็กมีการควบคุมได้ดีขึ้น สามารถเล่นใช้นิ้วมือหยิบจับหรือหมุนได้ ของเล่นที่ให้เด็กวัยนี้อาจเป็นภาพตัดต่อ ภาพต่อปลาย ไม้บล็อกหยอดกล่องรูปทรงกระดาษหมุดค้อนตอก เด็กจะชอบเล่นอิสระ และเลียนแบบท่าทางของคน และสัตว์จำลองบทบาทสมมติด้วยของเล่นเหมือนจริงจะช่วยเสริมจินตนาการให้เด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้เด็กจะสนใจฟังนิทานเรื่องเล่า และดูหนังสือภาพ ชอบแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวต่างๆ และเคลื่อนไหวตามจังหวะเสียงเพลง เด็กจะเริ่มเล่นกับเด็กอื่นมากขึ้น และทำงานเป็นกลุ่มได้ กิจกรรมการเล่นควรจัดให้เป็นการเล่นสร้างสรรค์ให้เด็กใช้จินตนาการ แสดงบทบาทสมมติ เช่น เล่นขายของ เล่นเป็นพ่อแม่ เล่นสร้างงานศิลปะ และด้วยวัยที่มีจินตนาการสูง การตักเตือนแนะนำด้วยเหตุผลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการเล่นที่อาจสร้างพฤติกรรมที่นำไปสู่ความรุนแรง เช่น ของเล่นอาวุธจำลอง
วัย 4-6 ขวบวัยนี้มีความพร้อมด้านต่างๆ มากขึ้น มีการเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้นชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนามและเครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ เล่นของเล่นที่ใช้มือจับได้ดีขึ้นพอใจกับการเล่นเป็นกลุ่มมากขึ้น ชอบเลียนแบบชีวิตในบ้าน และสิ่งแวดล้อม โดยแสดงบทบาทสมมติเป็นเรื่องราวมากขึ้น และมีการกำกับบทบาทให้เพื่อนเล่น ชอบฟังนิทาน โคลงกลอน ปริศนาคำทาย ช่างซักถาม และตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พบเห็น เชิงเหตุผล ชอบทดลองด้วยตนเอง สนใจตัวหนังสือ รู้จักเปรียบเทียบ จำแนกสิ่งต่างๆ ได้ ชอบวาดภาพระบายสี ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ และเล่นเกมที่มีกติกา
เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายความเข้าใจกับผู้อื่น และใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ กิจกรรมที่ให้เด็กเล่นควรสะท้อนความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เช่น วาดภาพเล่าเรื่องราว เล่นเกมเป็นกลุ่ม ของเล่นควรเป็นรูปแบบที่เด็กสร้างสรรค์ได้ด้วย เช่น ตัวต่อประเภทต่างๆ ไม้บล็อก และหนังสือนิทาน สิ่งสำคัญคือของเล่นทุกชนิดที่หามาให้เด็กเล่นควรปลอดภัย และไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงซึ่งของเล่นบางอย่างสามารถหาได้จากสิ่งของเหลือใช้ในบ้าน หรือพ่อแม่อาจจะนำของเหลือใช้ในบ้านมาร่วมกันประดิษฐ์ของเล่นร่วมกับลูกก็ได้ ดังนั้นจึงควรเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัยความเหมาะสมของเด็กเป็นสำคัญ
ถึงแม้ว่าของเล่นจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กก็ตาม แต่ของเล่นที่มีค่ามากที่สุดสำหรับเด็กคือ ตัวพ่อและแม่ ซึ่งสามารถเป็นของเล่นให้ลูกได้ตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะชอบสัมผัสจับต้องร่างกายของพ่อแม่นั่นคือ ให้ร่างกายพ่อ และแม่เป็นของเล่น เมื่อเขาโตขึ้นมาหน่อยพ่อกับแม่ก็มาเป็นเพื่อนเล่น ไม่เพียงแต่เราจะได้ดูแลลูกใกล้ชิดเพื่อช่วยเสริมพัฒนาการที่ดีให้ลูกเท่านั้น แต่ยังทำให้เด็กได้รับความรัก ความอบอุ่นจากพ่อ และแม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าของเล่นชิ้นไหนๆ ทั้งสิ้น





ที่มาของหาข้อมูล


http://www.karn.tv/c_science/tip_001.html


http://www.rbr2.net/chusak/9.doc


http://gotoknow.org/blog/dararat97/261257


http://ruttasart.blogspot.com/2009/03/blog-post.htm


http://pirun.ku.ac.th/~g4786027/download/content/content1/content12/content121/content121.2/content121.2.6/content121.2.6.2.doc


http://library.tru.ac.th/ttpdf/b64504/03chap1.pdf


http://www.momchannel.com/member/blogdetail/nongjinn/id:1023


http://www.geocities.com/witit_mink/process.html


http://learning.eduzones.com/offy/4919